วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้

การจัดการสอนของข้าพเจ้า
1.  วิชาที่เราจะสอนหลักสูตรแกนกลางกำหนดว่าอย่างไรต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไรแล้วนำความสำคัญนั้นมาปรับเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องหรือตรงกับเป้าหมาย
2.  ต้องดูว่าผู้เรียนมีลักษณะอย่างไร และต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร โดยจะต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการจัดกิจกรรม การที่รู้ว่าผู้เรียนผู้เรียนมีลักษณะอย่างไร เพราะผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน
  3. ในการจัดกิจกรรมครูควรจัดกิจกรรมจะต้องให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถในลักษณะต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้มีความหลากหลายในการเรียนรู้
 4.  ในการจัดกิจกรรมเราจะเน้นสื่อเป็นจุดเชื่อมเรื่องต่างๆของกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ไห้มากที่สุด
 5.  ในการจัดกิจกรรมเราจะประเมินผลโดยเพื่อนของนักเรียนและครูผู้สอนหรือครูผู้สอนคนอื่น
 6.  เมื่อเราได้ผลประเมินมาครูผู้สอนก็นำมา วัดผล วิเคราะห์และสงเคราะห์ออกมา ดูว่าผู้เรียนแต่ละคนผลเป็นอย่างไรแล้วนำส่วนที่บกพร่องไปปรับปรุงแก้ไขไห้ดีขึ้น
 7.  การจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต  วัดผล  ทดสอบต่างๆ  เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตรกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขนำไปใช้ในอนาคต ได้

กิจกรรมที่ 10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 10
                1)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
                2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
                3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
                4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
กรณีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502
คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม เนื่องจากศาลโลกยึดติดอยู่บนแผนที่ฉบับเดียว โดยที่ศาลโลกมิได้มีการตรวจสอบสถานที่อย่างจริงจังตามข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน
สถานการณ์ที่เขาพระวิหาร ถือว่าเป็นกรณีตัวอย่างที่มีความซับซ้อนและอ่อนไหว มีคนใช้ประเด็นนี้เพื่อหวังผลทางการเมืองภายใน และภายนอกประเทศ ที่แม้จะมีบางมุมที่ส่งผลดี แต่ทว่าก็สุ่มเสี่ยงต่อความพลาดพลั้งที่จะเกิดขึ้น ประการแรก คือ ชีวิตคนบริสุทธิ์ที่อาจได้รับอันตราย ประการที่สอง คือ การพลาดท่าที่จะทำให้มหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์บริเวณดังกล่าว ที่หากเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้การเดินเกมของกัมพูชาในการยึดครองพื้นที่พิพาทบริเวณดังกล่าวง่ายขึ้นนั่นเอง
                จากกรณีดังกล่าวของเขาพระวิหาร จึงเห็นได้ว่าประเทศไทยยังมีพื้นที่ทับซ้อนกันแต่ว่าการตัดสินของศาลโลกทำให้เกิดการที่เรียกกันว่าเอาเปรียบกัน และไม่ค่อยยุติธรรมเนื่องมาจากพื้อนที่ส่วนนั้นจากการมองดูพื้นที่แบบภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ของไทยแต่จากการที่กัมพูชาอาจมีทางเอาชนะได้หลายรูปแบบสาลโลกจึงตัดสินให้กัมพูชาชนะคดี

2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัว  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยรู้และตระหนักเรื่องของดินแดนขึ้นมาเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะไม่ให้จังหวัดของประเทศเรากลายไปเป็นของคนอื่น  ดั้งนั้นเรื่องนี้รัฐบาลจึงต้องดูแลและรักษาดินแดนไว้ซึ่งดินแดนไว้ให้สมบูรณ์ครบถ้วน

3.
  วิเคราะห์กรณี mou43  
               ในกรณีดังกล่าวเป็นปัญหาในเรื่องของเขตแดนที่มีความซับซ้อนกันของไทยกับกัมพูชา โดยสืบเนื่องมาจากการที่คนไทยทั้ง7คนถูกจับกุม ในข้อหาลุกล้ำเข้าเมืองแต่ทางประเทศไทยก็มีความเชื่อาว่าพื้นที่ตรงส่วนนั้นเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทำให้นำไปสู่ปัญหาการปักปันเขตแดน 
                ซึ่งในกรณีนี้มีความคิดเห็นว่าการที่กัมพูชาจับกุมคนไทยไปก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้เพราะคิดว่าพื้นที่ส่วนนั้นเป้นของตน  แต่เมื่อมีการออกมาทักท้วงในด้านของดินแดนทางกัมพูชาก็ควรที่จะปล่อยแล้วดำเนินคดีเรื่องของดินแดนก่อน เพื่อจะได้ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย

4.  วิเคราะห์กรณี กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชา
                จากการที่เกิดปัญหาในการจับกุมนั้นเป็นเรื่องที่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ทางกัมพูชาจะใช้อำนาจผิดพลาดไปเพราดินแดนในส่วนนั้นยังเป็นข้อพิพาทอยู่จึงไม่ควรทำเหมือนกับว่าเป็นของตนเอง  ควรที่จะดำเนินตัดสินเรื่องเขตที่ยังซ้อนทับกันก่อน  และเหตุการณ์นี้ยังสามารถเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่อาจจะมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ของประเทศ  เพราะทางกัมพูชาล่วงล้ำและบุกรุกเข้ามาเรื่อยๆซึ่งทำให้เห็นว่ารัฐบาลของไทยที่ยังอ่อนอยู่ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านบุกรุกแต่เขากลับชนะแล้วยังได้ดินแดนไปด้วย
ดังนั้น  รัฐบาลไทยควรที่จะหาข้อมูลที่แข็งและเป็นประโยชน์เพื่อที่จะเอาดินแดนของตนเองกลับคืนมาและจะต้องช่วยคนไทยที่ถูกจับกุมไปกลับมาได้อย่างปลอดภัย มิฉะนั้นอีกไม่นานดินแดนประเทศไทยจะถูกรุกรานไปเรื่อยๆ

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554



กิจกรรมที่ 9

ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  ให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ที่นักศึกษาเห็นว่าสำหรับการจัดการเรียนการสอน และหากนักศึกษาไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร  เขียนอธิบายขยายความลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่  ๙ (โทรทัศน์สำหรับครูอยู่ในแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู เลือกพยายามอย่าให้ซ้ำกัน หรือซ้ำกันแต่ให้มุมมองที่แตกต่างกัน)

ครูจะต้องมีคุณสมบัติ

         ๑.ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว
           ๒. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
           ๓.  ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิด ประโยชน์แก่ตนและสังคม
         ๔.ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ สังคม
          ๕. ความเป็นผู้มีความคิด ริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
           ๖. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
           ๗. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
           ๘. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
          ๙. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
         ๑๐. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปันเกื้อกูลผู้อื่นในเรื่องของเวลากำลัง กายและกำลังทรัพย์ การเป็นครูที่ "ดี" นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง
          ๑.   ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอ
          ๒มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน
          ๓.   มีบุคลิกภาพที่ดี
          ๔.  มีความรู้ความชำนาญในงานที่สอน
          ๕.  มีความอดทน
          ๖.   มีลักษณะซึ่งผู้เรียนให้ความไว้วางใจ
          ๗.  มีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดความรู้ 
          ๘.  มีความจริงใจ
           ๙.  มีลักษณะเป็นผู้นำ

               คุณสมบัติแรกที่ผู้เรียนทุกระดับขั้นมักจะให้ความสำคัญคือ "ความ สามารถในการสอน" หรือเทคนิคในการสอนนั้นเอง ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องทุ่มเทหัวใจให้กับงานทั้งหมด และตระหนักว่าผลของความสำเร็จจะไม่เป็นตามกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีที่ตั้งไว้ ลักษณะการสอนในแนวความคิดนี้จะไม่ยึดกฎเกณฑ์เป็นหลักตายตัว แต่จะต้องอาศัยความยึดหยุ่น คือ สามารถทำสิ่งที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม เช่น สามารถใช้วิธีสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน การสอนจะประสบความสำเร็จต้องอาศัยหลักทฤษฎีซึ่งมีผลจากการทดลองวิจัยมาเป็น ตัวสนับสนุนการสอนที่ดีมิใช่ศิลปะหรือเป็น "พรสวรรค์" ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคลบางคนแต่การสอนที่ดีเป็นผลมาจากการฝึกอย่างเชี่ยวชาญซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้
             ทั้งนี้เพราะข้อมูลทางด้านศิลปะจะทำให้เกิด "ใจ รัก" ส่วนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จะทำให้เกิด "ความเชี่ยวชาญ"คือมีความรู้ และมีใจรักในการถ่ายทอดความรู้ก็จะเป็นครูผู้นั้นมีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่ สอน และมีความรู้ในหลัก"จิตวิทยาการศึกษา" โดยอาศัยเนื้อหาต่าง ๆ ที่อธิบายไว้ในบทต่าง ๆ
          ๑.พัฒนาการรู้จักตนเองและโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าครูมีความเข้าใจและยอมรับตนเองแล้วก็จะเกิดความเข้าใจและยอมรับผู้อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น
                ๒. ค้นหาทางเลือกใหม่ๆ ในการสอน ถ้าพบว่า วิธีการต่าง ๆ ที่ เป็นที่นิยมใช้กันนั้นไม่เหมาะสมกับตนเอง ครูควรจะค้นหาวิธีใหม่ๆนำมาใช้ให้เหมาะกับตนเอง
                ๓.หมั่นตรวจสอบสิ่งที่ตนเองไม่พึงพอใจ
                ๔.ประเมินภาระงานใหม่ทั้งหมดโดยพยายามขจัดหรือลดภาระงานที่มากเกินไปที่ทำให้เกิดความเครียด
               ๕.ขอคำแนะนำจากผู้อื่นเช่น เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมุมมองในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป
                ๖. แสวงหาประสบการณ์ใหม่ที่นอกเหนือจากการสอน เช่น หางานอดิเรกทำ ทำงานพิเศษช่วงฤดูร้อน เข้ารับการสัมมนาในหัวข้อที่สนใจเป็นต้น
                ๗. แสวงหาความพึงพอใจจากที่อื่น ๆ เมื่อรู้สึกว่าบรรยากาศในห้องเรียนไม่เอื้อต่อความสุขของตนเอง เช่น การรับเชิญไปเป็นวิทยากรพิเศษหรือการรับเชิญไปสอนพิเศษตามสถาบันต่างๆเป็น ต้น