วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 8

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)
ให้นักศึกษา  สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
                      แนวทางพัฒนาองค์การ
                      กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้

โดยให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย    
   เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)          
           ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
          ศิริพงษ์ (2547) ได้กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรมและสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์การ หรือถ้าจำเพาะเจาะจง หมายถึง ปรัชญา อุดมการณ์ ความรู้สึก คติฐาน (assumption) ความคาดหวัง เจตคติ บรรทัดฐาน (norms) และค่านิยม (value) วัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า โครงสร้างขององค์การ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง องค์การได้รับพลังมาจากสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร บุคคล และวัสดุอุปกรณ์ พลังดังกล่าวจะเชื่อมโยงมาเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์การ และทำให้สมาชิกในองค์การประสบผลตามที่ต้องการ ส่วนกระบวนการบริหาร เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างขององค์การ ได้แก่ คำอธิบายงาน ระบบคัดเลือก ระบบประเมินผล ระบบควบคุม และระบบการให้รางวัล มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์การและอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การด้วย ระบบสังคมจะให้ผลย้อนกลับเพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมปัจจุบันว่าควรอยู่หรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในองค์การขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่อาจจะมีส่วนต่าง ๆ คล้ายกันได้ เป็นต้น แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การ
    วัฒนธรรมมิใช่เป็นเพียงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมโดยทั่วไปเท่านั้น แต่ยังเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานต่างๆ ด้วย สังคมอาศัยวัฒนธรรมเพื่อช่วยในการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาพื้นฐานบางประการของกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันเพื่อความอยู่รอดของสมาชิก เช่น สังคมอาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองและกระบวนการยุติธรรมมาช่วยแก้ปัญหาการเมืองและความขัดแย้งในสังคม หรือในเรื่องปากท้องของประชาชนอันเป็นปัญหาเศรษฐกิจสังคมก็อาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาช่วยขจัดปัดเป่าปัญหาให้ทุเลาลง เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของสังคม วัฒนธรรม หรือ วัฒนธรรมในหน่วยงาน ก็ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของสังคม เช่น วัฒนธรรมองค์การในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้รางวัล (การขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง) และการลงโทษ (การภาคทัณฑ์ การไล่ออก) ช่วยสื่อให้สมาชิกของหน่วยงานทราบถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติและการทำงานที่หน่วยงานคาดหวัง ถ้าสมาชิกประพฤติปฏิบัติตามก็ช่วยให้ปัญหาบางประการ เช่น (การลาออก) ทุเลาเบาลงและงานจะดำเนินไปอย่างมีระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อวัฒนธรรมองค์การมีบทบาทภายในหน่วยงานหลายประการ การศึกษาวัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเรื่องสำคัญและน่าสนใจควบคู่กันไป
         กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
     กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ
     1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง      2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ 
                  แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
   เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก   กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ

      อ้างอิง  http://www.expert2you.com/view_question2.php?q_id=1111
                   

กิจกรรมที่ 7

การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ   ให้นักศึกษาเปิดไฟล์ข้อมูลและสรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร  อ่านจากบทความนี้และนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
     บทความเรื่อง การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
       ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในหลายโรงเรียน คือ การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยและตั้งใจเรียน แม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุมชั้นเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น กิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “active” คือช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับว่าเป็น ครูมืออาชีพ
ดังนั้น ครูมืออาชีพจึงเป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้นเรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียนทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่งเพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความสนใจและตั้งใจเรียน นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ต้องมีการ
สร้างสรรค์และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยเช่นกัน ครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน
        การจัดการชั้นเรียนมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ คือ
- การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วย
ปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
- นักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและ
สิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเกิดสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่การแสดง
พฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทำให้นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
            ดังนั้น จะเห็นว่าการจัดการบริหารชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความ
กระตือรือร้นในการเรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้วางแผนและกระบวนการส่งเสริมทั้งทางด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคม โดยมีสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow)ที่กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานอย่างเป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคง ขั้นความต้องการการยอมรับและยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ทำให้ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ครูต้องเป็นผู้ช่างสังเกตว่านักเรียนมีความต้องการพื้นฐานในระดับใด และพยายามช่วยเหลือตอบสนองความต้องการของนักเรียน ให้ความเป็นอิสระและเสรี รวมทั้งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรู้จักตนเอง
         วิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพนั้นคนที่เป็นครูควรยึดหลักดังต่อไปนี้
       1. หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้อิสระ ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันครูต้องใจกว้าง ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย
       2. หลักความยุติธรรม ครูควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดย
ทั่วถึง นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
        3. หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
เมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดุ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา หมายถึง ความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ลาภยศ สุข สรรเสริญ
อุเบกขา หมายถึง ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง การวางใจเฉย
ถ้าครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ในการปกครองชั้นเรียน นอกจากจะทำให้นักเรียนมีความ
เคารพรักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่
นักเรียนด้วย
        4. หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับ
นักเรียน เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา วิธีการแสดงความสนใจนักเรียนทำได้หลายวิธี ซึ่งประกอบด้วย
1. ครูจะต้องรู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคน
เป็นต้นว่า งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน
2. ครูจะต้องแสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน เช่น หมั่นถามความ
เป็นไปของพี่น้อง ความคืบหน้าของการสะสมแสตมป์ คือ ไม่เพียงรู้แต่ว่าเด็กเป็นอะไรในข้อ 1 แต่รู้ข่าวคราวเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้นด้วย
3. ครูจะมอบเวลาของตนเพื่อเด็ก เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน ได้แก่ เวลาเย็นหลังเลิก
เรียน ช่วงพักระหว่างการเรียน เพื่อช่วยเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ว่าต้องการขอ
คำปรึกษา ต้องการขอคำแนะนำในการหารายได้พิเศษ ครูจะต้องพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กได้ตลอดเวลา
4. ครูจะต้องใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้อง
สอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ถ้าครูจะอบรมสั่งสอนเด็กเรื่องความซื่อสัตย์ ครูจะต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วยเช่นกัน กายสัมผัสก็เป็นสิ่งจำเป็น การจับต้องตัวบ้าง จะเป็นสื่อนำให้เด็กรู้สึกถึงความใกล้ชิดสนิทสนม
           นำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเราได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ และมีความสบายใจในการทำกิจกรรม บรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 6

ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้  สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์*  สารานุกรมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษา หน้า ๓๑๑๓๑๗
          สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก ในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีสมาคมวิชาชีพด้านการศึกษาดูแลเรื่องมาตรฐานการอาชีพของครู และของผู้บริหารที่เรียกว่า “Professional Standard Boards” (KY: Education Professional Standards Board Website: available at,file//G:\Prostan10.htm) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้นมีความสำคัญ นอกจากนั้นก็จะมีคณะกรรมการวิชาชีพทางการศึกษาในแต่ละเขต แต่ละท้องที่ และแต่ละรัฐ เพื่อความพยายามให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถึงมาตรฐานขั้นต่ำของวิชาชีพ เป็นต้น ส่วนมาตรฐานวิชาชีพการศึกษาของประเทศไทย ก็ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยคุรุสภา ซึ่งการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวได้ผ่านการศึกษาค้นคว้าทั้งในรูปของการวิจัย และใช้ประโยชน์ผลการวิจัย การศึกษาเอกสารการประชุมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และอื่นๆ เพื่อประมวลข้อมูลมากำหนดเป็น มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเช่นนี้เป็นต้น

          
มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ
          วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
    ๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู

มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
   
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
    ๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
        
การนำไปประยุกต์ใช้
          เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ ตัวอย่างเช่นที่ (The Royal College of Anaesthetists, available at,mhtml: //G\ProfStand12.mht) ได้เน้นที่มาตรฐานวิชาชีพของตน ในการบริการที่ให้ผู้เรียนและสังคมที่ดีที่สุด ทั้งในระดับการบริการภายในและภายนอกสถาบัน ภาควิชาและหน่วยงานต่างๆ เช่น การสร้างหน่วยงานเป็นลักษณะคลีนิคที่ให้บริการที่หลากหลาย มีการตั้งหน่วยงานให้คำปรึกษาสาขาวิชาต่างๆนอกสถาบันทั่วประเทศ เพื่อให้บริการเชิงของการเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสำนักระเมินคุณภาพได้ประเมินให้เป็นสถาบันที่ได้รับการยกย่องเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงกล่าวได้ว่าการประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพ ความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย

กิจกรรมที่ 5


ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร

จะเห็นว่าในปัจจุบันเราได้ยินคำว่า
ต้นแบบในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือ ครูต้นแบบต่อมาก็มี โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบ ผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ
         ต้นแบบคืออะไร ทำไมต้องมีครูต้นแบบ เกิดประโยชน์อะไรถึงจะต้องคัดเลือกกันด้วยกระบวนการยุ่งยาก ซับซ้อน  จนกลายเป็นว่า ต้นแบบของใครจะดีกว่า ? แล้วก็ได้ต้นแบบมาไม่ถึง 5% ของครูทั้งหมด มีการยกย่องเชิดชู เผยแพร่ ออกข่าววิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แล้วคนที่ไม่ได้เป็นต้นแบบ จะได้อะไร รู้สึกรู้สาอะไรกับ ต้นแบบ
 พระคุณเจ้าได้สรุปความสำคัญของคำว่า ต้นแบบว่ามี 2 นัย
 นัยแรกคือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
 นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ    ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล
            การศึกษาเป็นระบบกัลยาณมิตร เป็นพรหมจรรย์ การมีต้นแบบที่ดีย่อมเป็นกำลังใจ ครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ ต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น หากครูเป็นต้นแบบที่ดี เป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดี ศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงต่อ ๆ กันไป ผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด
 ต้นแบบต้องทำงานหนักและเหนื่อยทั้งเพื่อคงรักษาการเป็นต้นแบบ อีกทั้งถ่ายทอด ขยายเครือข่ายแก่ผู้ดูแบบ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แต่ท่านเหล่านั้นคงไม่เหน็ดเหนื่อยต่อการสอนการเผยแพร่เพราะ.......ท่านมีวิญญาณแห่งต้นแบบ พวกเรามาร่วมเป็นกำลังใจให้ต้นแบบกันเถอะค่ะ ไม่ว่าท่านจะเป็นต้นแบบจากองค์กรไหน ท่านก็เป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้พบเห็นได้เสมอ ทั้งที่ท่านรู้ตัวและไม่รู้ตัว ท่านได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่นัก 


กิจกรรมที่ 4

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง และสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา
ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม

การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับหลายองค์กรเช่นกัน ประเด็นเรื่องการอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ (Species) ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก"
การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ หากจะมองในระดับบุคคลแล้ว คงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดจะสำคัญและยิ่งใหญ่ไปกว่าการปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฏฐิ) และทัศนคติ (Attitude) การรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ (Bias) ประเด็นคำถามที่ตามมาก็คือ
ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นและเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามที่เป็นหรือเกิดขึ้นจริง มิใช่เป็นการเห็นหรือเข้าใจตามที่เราต้องการจะเห็นหรือให้มันเป็น
ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถใช้ทั้งความรู้และความรู้สึกควบคู่กันไปอย่างได้สมดุล
ทำอย่างไรเราจึงจะไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบจนอาจลืมสาระและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆไป
ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นความจำเป็นของระบบ ของมาตรฐานโดยที่ไม่มองข้ามความงดงามอันเนื่องมาจากความหลากหลาย (Diversity)
เราจะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างไร เพื่อให้ได้มาซึ่งโครงสร้างองค์กรที่แบนราบ (Flat) ไม่สลับซับซ้อนไม่มีลำดับชั้นมากมาย เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น (Flexible) เป็นการบริหารงานโดยผ่านกระบวนการ (Process) อาศัยการทำงานแบบร่วมกันเป็นทีม แทนการบริหารงานแบบดั้งเดิมที่เน้นการดำเนินงานตามสายงาน (Function) เป็นหลัก ทำอย่างไรผู้บริหารถึงจะเข้าใจว่าระบบขององค์กรโดยแท้จริงแล้วเป็นระบบที่มีชีวิต เป็นระบบที่เปิด (Open System) ที่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เป็นระบบที่จริงๆแล้วไม่อาจเขียนแทนได้ด้วยผังการไหลของงาน (Flowchart) หรือถ่ายทอดทุกอย่างผ่านคู่มือการดำเนินงาน (Procedure) หากแต่ว่าเป็นระบบที่ประกอบด้วยชีวิต จิตวิญญาณ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ที่มิอาจถ่ายทอดออกเป็นตัวหนังสือ หรือเขียนออกมาอยู่ในรูปแบบของเอกสารได้ทั้งหมด

การสร้างการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่าย หากเรายังใช้แต่หลักทางด้านการจัดการ (Management) อยู่ เพราะการจัดการนั้นจริงๆแล้วใช้ได้ผลดีเฉพาะกับสิ่งที่เป็นสิ่งของ (Things) เท่านั้น แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ตัวอย่างเช่น เวลาเราพูดถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ก็เป็นเรื่องของคน การปรับเปลี่ยนระบบก็เกี่ยวกับคน การนำเทคโนโลยีมาใช้ก็เกี่ยวกับคนเช่นกัน ซึ่งเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) มากกว่าที่จะใช้การจัดการ ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ หลายคนบอกว่าการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นควรจะต้องเริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดและจูงใจก่อนเป็นอันดับแรก เพราะนั่นคือการกำหนดทิศทาง เป็นการวางเป้าหมายสำหรับอนาคต แต่สำหรับผมแล้วผมกลับเห็นว่าการสร้างศรัทธาต่างหากที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การนำนี้สำเร็จ เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมพบว่าแม้วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นมานั้นจะดึงดูดและชวนให้ตื่นตาตื่นใจสักเพียงใดก็ตาม แต่หากคนทั่วไปไม่ยอมรับนับถือหรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว


คำถามที่ตามมาก็คือ "ศรัทธาเหล่านี้มาจากไหน เราจะสามารถพัฒนามันขึ้นมาได้อย่างไร" หากจะกล่าวโดยรวมแล้วศรัทธาเป็นเรื่องของ ความชอบ ความเชื่อ เป็นเรื่องของการยอมรับ เป็นเรื่องของใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเหตุมีผลกำกับเสมอไป โดยหลักใหญ่ๆแล้วการที่คนผู้หนึ่งผู้ใดจะเป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั่วไป บุคคลนั้นก็คงต้องมีอะไรที่เหนือ หรือโดดเด่นอยู่บ้าง เช่น อาจจะโดดเด่นในเรื่องคุณวุฒิ วัยวุฒิ ประสบการณ์ หรือความรู้ความสามารถ ซึ่งคนทั่วไปก็จะให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้แตกต่างกันไป บางคนก็ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณวุฒิ วัยวุฒิ ในขณะที่บางคนกลับให้ความสำคัญกับเรื่องความรู้ความสามารถเป็นหลัก
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเห็นพ้องต้องกันว่าสิ่งนี้คือปัจจัยหลักในการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ในตัวผู้นำ สิ่งนั้นก็คือคุณสมบัติในเรื่องการเป็น "ผู้ให้" หากเราลองนึกถึงผู้นำในดวงใจของเรามาสัก 2-3 คน และลองพิจารณาถึงคุณสมบัติของการเป็นผู้ให้ของผู้นำในดวงใจที่เราเลือกมา ก็จะพบว่าส่วนใหญ่มักจะมีคุณสมบัติที่ว่านี้ค่อนข้างชัดเจน เราจะพบว่า ผู้นำที่แท้คือผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน แน่นอนที่สุดหากเรามองว่าธุรกิจคือการแข่งขัน เป้าหมายของการแข่งขันก็คือชัยชนะ ผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนต่างก็ล้วนแต่ต้องการชัยชนะด้วยกันทั้งนั้น แต่สำหรับผู้นำที่แท้จริงแล้ว ชัยชนะที่เขาต้องการที่จะได้มานั้น เขามองมันในฐานะที่เป็นรางวัลสำหรับทุกคน มิใช่เพียงเพื่อตัวเขาเท่านั้น ผู้นำที่แท้ต้องการจะเห็นคนทุกคนที่ก้าวเดินไปพร้อมกับเขา มีความสุข ได้รับชัยชนะ ถึงแม้ว่าสายตาของเขาจะจับจ้องอยู่ที่ชัยชนะ แต่ก็เป็นชัยชนะเพื่อคนทุกคน เขาจะเป็นบุคคลที่คิดถึงตัวเองเป็นคนสุดท้ายเสมอ
 หากท่านตั้งคำถามว่าในโลกนี้มีคนประเภทที่กล่าวมานี้ด้วยหรือ คำตอบก็คือ "มี" เพราะเราก็ยังคงพบเห็นคนประเภทนี้อยู่ในทุกยุคทุกสมัย เพียงแต่ว่าในปัจจุบันอาจจะมีให้เห็นไม่มากนัก เพราะผู้นำที่เราพบกันโดยทั่วไปมักจะเป็นผู้นำที่มาโดยตำแหน่งเป็นส่วนใหญ่ การที่ผู้นำจำเป็นต้องเป็น "ผู้ให้" นั้น เท่ากับเป็นการตอกย้ำให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นว่าผู้นำที่แท้จะต้องไม่เห็นแก่ตัว จะต้องไม่มองประโยชน์เฉพาะส่วนของตน หากผู้ใดยึดประโยชน์ส่วนของตนเป็นที่ตั้งย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าคนผู้นั้นย่อมมิใช่ผู้นำที่แท้จริง ผู้นำจำเป็นจะต้องเสียสละ (sacrifice) ภาวะผู้นำกับเรื่องการเสียสละเป็นสิ่งที่ถือว่าคู่กัน ไม่มีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ใดๆ จะเกิดขึ้นได้ หากปราศจากซึ่งการทุ่มเทและการเสียสละ Ralph Emerson นักปรัชญาชาวอเมริกันได้กล่าวถึงสมดุลของการให้และการรับไว้ว่า "ในขณะที่เราให้หรือเสียอะไรบางอย่างไป เราก็มักจะได้อะไรบางอย่างมา และในขณะที่เราได้บางสิ่งบางอย่างมา เราก็มักจะต้องเสียบางสิ่งบางอย่างไปเสมอ" และด้วยอมตะวาจานี้เราจึงพบว่า ผู้ที่ให้มักจะเป็นผู้ที่ได้รับอะไรๆ อยู่เสมอ ทั้งๆ ที่ตัวเขาเองก็มิได้คาดหวังอะไรเป็นสิ่งตอบแทน เข้าทำนองที่ว่า "ยิ่งให้ก็ยิ่งได้รับ" ซึ่งส่วนหนึ่งของสิ่งที่เขาได้รับนี้ก็คือศรัทธาอันเป็นผลเนื่องมาจากความสามารถที่จะ "ซื้อใจ" ผู้ตามได้นั่นเอง
เรียบเรียงจากบทความที่เขียนลงหนังสือพิมพ์บิสิเนสไทย คอลัมน์ e-Motion
เมื่อวันที่ 8-15 ตุลาคม 2544

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่
นายชวน หลีกภัย
               

ประวัติของนายชวน หลีกภัย         
                นายชวน หลีกภัย เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ของนายนิยม หลีกภัย และนางถ้วน หลีกภัย เมื่อยังเด็ก นายชวนมีชื่อเรียกในครอบครัวว่า "เอียด" หมายถึง เล็ก เนื่องจากเป็นครูรูปร่างเล็กมีบุตรชายกับนางภักดิพร สุจริตกุล หนึ่งคน คือ นายสุรบถ หลีกภัย
                นายชวน หลีกภัย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัย สมัยแรกระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538 (ครม.คณะที่ 50) สมัยที่สองระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 (ครม.คณะที่ 53) และเคยดำรงตำแหน่งเป็น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ติดต่อกัน 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2546 เป็นเวลารวม 12 ปี

ผลงานเด่น
1. โครงการวิ่งรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2530
                โครงการนี้จัดขึ้นโดยมีมูลนิธิแพทย์ชนบทเป็นแกนกลาง ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรเอกชนอื่น ๆ เช่น มูลนิธิหมอชาวบ้าน คณะกรรมการประสานองค์กรเอกชนเพื่อการพัฒนาสาธารณสุข (คปอส.) ชมรมแพทย์ชนบท ฯลฯ จัดโครงการวิ่งรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของการไม่สูบบุหรี่ ร่วมลงชื่อแสดงประชามติสนับสนุนการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ อันเป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลได้ให้ความสนใจเข้ามารับผิดชอบแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง และเป็นการกระทำเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบด้วย ได้มีการเตรียมการวางแผนและประสานกันอย่าเต็มที่ แล้วทำการวิ่งรณรงค์ทั่วประเทศในระหว่างวันที่ 16-22 ตุลาคม 2530 จากทุกภาคของประเทศเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำรายชื่อผู้ร่วมลงประชามติมอบแก่ประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายชวน หลีกภัย) รับไปพิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
การวิ่งรณรงค์แบ่งออกเป็น 4 สาย ดังนี้
สายเหนือ วิ่งจากจังหวัดเชียงใหม่ มี นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เป็นหัวหน้าสาย
สายใต้ วิ่งจากสวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีนพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เป็นหัวหน้าสาย
สายตะวันออกเฉียงเหนือ วิ่งจากจังหวัดอุบลราชธานีและอุดรธานี มาบรรจบกันที่จังหวัดขอนแก่นแล้ววิ่งเข้าสู่กรุงเทพฯ มี นพ.สำเริง แหยงกระโทก เป็นหัวหน้าสาย
สายตะวันออก นพ.สมชัย ศิริกนกวิไล และ นพ.สงวน นิตยารัมภ์งพงศ์ ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานโครงการ
ได้รายชื่อผู้ร่วมลงประชามติ ประมาณ 6 ล้านรายชื่อ
                ในการวิ่งครั้งนี้ มีแพทย์ชนบท เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้สนใจเข้าร่วมวิ่งในโครงการประมาณ 300 คน และในวันที่วิ่งเข้าถึงกรุงเทพมหานคร มีผู้ร่วมในพิธีมอบรายชื่อประชามติ ประมาณ 2,000 คน
                พิธีมอบรายชื่อกระทำเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2530 ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยมี พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้นเป็นผู้ให้การต้อนรับ มี ศจ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นผู้มอบรายชื่อประชามติให้กับ นายชวน หลีกภัย
โครงการหารายได้เพื่อดำเนินการได้ทั้งสิ้น 528,457 บาท ใช้จ่ายไปจริง 489,053.50 บาท คงเหลือเงิน 39,403.50 บาท สำหรับดำเนินกิจการอื่น ๆ ต่อเนื่อง
                โครงการนี้เป็นโครงการอันยิ่งใหญ่ที่แพทย์ชนบทได้ร่วมมือร่วมใจกันกระทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริม และพิทักษ์สุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการวิ่งรณรงค์แล้ว มูลนิธิฯ ยังได้ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องอีกหลายประการ ได้แก่ การผลักดันให้มีการจัดโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศเป็นเขตปลอดบุหรี่ การสร้างวิทยากรเพื่อการไม่สูบบุหรี่ทั่วประเทศ การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปัญหาของการสูบบุหรี่ เป็นต้น
ผลของโครงการนี้ มีส่วนผลักดันและเสริมให้ "การรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่" ในประเทศไทยมีกระแสสูงยิ่งและเป็นกระแสที่สาธารณชนยอมรับและสนับสนุน จนกระทั่งกลายมาเป็นกฏหมายคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ และควบคุมการบริโภคยาสูบ รวมทั้งมีมาตรการเพื่อการไม่สูบบุหรี่อื่น ๆ ติดตามมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้

2.โครงการเยี่ยมแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรโรงพยาบาลชุมชน
                เป็นโครงการที่ถือกำเนิดขึ้นเพื่อมุ่งที่การส่งเสริมขวัญและกำลังใจแก่แพทย์ที่ปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตเสี่ยงภัยและทุรกันดาร และเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่วิชาชีพแพทย์ โดยการจัดทีมแพทย์อาวุโส อาจารย์แพทย์ และรุ่นพี่ที่สมัครใจออกเยี่ยมเยียนแพทย์ชนบท เริ่มโครงการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2531 และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยในช่วง 2 ปีหลังนี้ได้ปรับขยายโครงการไปสู่การเยี่ยมเยียนทันตแพทย์ และเภสัชกรชนบทควบคู่กันไปด้วย
จากการประเมินผลการดำเนินงาน 5 ปี ของโครงการนี้ สรุปได้ว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี สมควรดำเนินการต่อไป

3. โครงการสรรหาแพทย์ชนบท กองทุนนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร
                สืบเนื่องจากการเสียชีวิตด้วยอาวุธสงครามระหว่างเดินทางกลับโรงพยาบาลของนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นแพทย์ชนบทหนุ่มที่มีความตั้งใจและเสียสละไปปฏิบัติงานอยู่ในเขตเสี่ยงภัยชายแดน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2527 มูลนิธิฯ จึงได้จัดหาทุนตั้งเป็น "กองทุนนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร" ขึ้น เพื่อเป็นการสดุดีและยกย่องเชิดชูเกียรติแก่นายแพทย์กนกศักดิ์ฯ จากนั้นก็ได้มีการจัดทำโครงการสรรหาเพื่อให้รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติแก่แพทย์ที่มีความตั้งใจ อดทนและเสียสละปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีในชนบทเขตเสี่ยงภัยและทุรกันดาร ปีละ 1-2 คน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบันมีแพทย์ที่ได้รับรางวัลจากกองทุนนี้ไปแล้ว รวม 22 คน
                โครงการนี้เป็นอีกโครงการหนึ่งที่สามารถส่งเสริมขวัญ กำลังใจ และสนับสนุนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของแพทย์ชนบทได้อย่างเป็นรูปธรรม