วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่
นายชวน หลีกภัย
               

ประวัติของนายชวน หลีกภัย         
                นายชวน หลีกภัย เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ของนายนิยม หลีกภัย และนางถ้วน หลีกภัย เมื่อยังเด็ก นายชวนมีชื่อเรียกในครอบครัวว่า "เอียด" หมายถึง เล็ก เนื่องจากเป็นครูรูปร่างเล็กมีบุตรชายกับนางภักดิพร สุจริตกุล หนึ่งคน คือ นายสุรบถ หลีกภัย
                นายชวน หลีกภัย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัย สมัยแรกระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538 (ครม.คณะที่ 50) สมัยที่สองระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 (ครม.คณะที่ 53) และเคยดำรงตำแหน่งเป็น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ติดต่อกัน 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2546 เป็นเวลารวม 12 ปี

ผลงานเด่น
1. โครงการวิ่งรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2530
                โครงการนี้จัดขึ้นโดยมีมูลนิธิแพทย์ชนบทเป็นแกนกลาง ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรเอกชนอื่น ๆ เช่น มูลนิธิหมอชาวบ้าน คณะกรรมการประสานองค์กรเอกชนเพื่อการพัฒนาสาธารณสุข (คปอส.) ชมรมแพทย์ชนบท ฯลฯ จัดโครงการวิ่งรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของการไม่สูบบุหรี่ ร่วมลงชื่อแสดงประชามติสนับสนุนการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ อันเป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลได้ให้ความสนใจเข้ามารับผิดชอบแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง และเป็นการกระทำเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบด้วย ได้มีการเตรียมการวางแผนและประสานกันอย่าเต็มที่ แล้วทำการวิ่งรณรงค์ทั่วประเทศในระหว่างวันที่ 16-22 ตุลาคม 2530 จากทุกภาคของประเทศเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำรายชื่อผู้ร่วมลงประชามติมอบแก่ประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายชวน หลีกภัย) รับไปพิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
การวิ่งรณรงค์แบ่งออกเป็น 4 สาย ดังนี้
สายเหนือ วิ่งจากจังหวัดเชียงใหม่ มี นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เป็นหัวหน้าสาย
สายใต้ วิ่งจากสวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีนพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เป็นหัวหน้าสาย
สายตะวันออกเฉียงเหนือ วิ่งจากจังหวัดอุบลราชธานีและอุดรธานี มาบรรจบกันที่จังหวัดขอนแก่นแล้ววิ่งเข้าสู่กรุงเทพฯ มี นพ.สำเริง แหยงกระโทก เป็นหัวหน้าสาย
สายตะวันออก นพ.สมชัย ศิริกนกวิไล และ นพ.สงวน นิตยารัมภ์งพงศ์ ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานโครงการ
ได้รายชื่อผู้ร่วมลงประชามติ ประมาณ 6 ล้านรายชื่อ
                ในการวิ่งครั้งนี้ มีแพทย์ชนบท เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้สนใจเข้าร่วมวิ่งในโครงการประมาณ 300 คน และในวันที่วิ่งเข้าถึงกรุงเทพมหานคร มีผู้ร่วมในพิธีมอบรายชื่อประชามติ ประมาณ 2,000 คน
                พิธีมอบรายชื่อกระทำเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2530 ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยมี พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้นเป็นผู้ให้การต้อนรับ มี ศจ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นผู้มอบรายชื่อประชามติให้กับ นายชวน หลีกภัย
โครงการหารายได้เพื่อดำเนินการได้ทั้งสิ้น 528,457 บาท ใช้จ่ายไปจริง 489,053.50 บาท คงเหลือเงิน 39,403.50 บาท สำหรับดำเนินกิจการอื่น ๆ ต่อเนื่อง
                โครงการนี้เป็นโครงการอันยิ่งใหญ่ที่แพทย์ชนบทได้ร่วมมือร่วมใจกันกระทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริม และพิทักษ์สุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการวิ่งรณรงค์แล้ว มูลนิธิฯ ยังได้ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องอีกหลายประการ ได้แก่ การผลักดันให้มีการจัดโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศเป็นเขตปลอดบุหรี่ การสร้างวิทยากรเพื่อการไม่สูบบุหรี่ทั่วประเทศ การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปัญหาของการสูบบุหรี่ เป็นต้น
ผลของโครงการนี้ มีส่วนผลักดันและเสริมให้ "การรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่" ในประเทศไทยมีกระแสสูงยิ่งและเป็นกระแสที่สาธารณชนยอมรับและสนับสนุน จนกระทั่งกลายมาเป็นกฏหมายคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ และควบคุมการบริโภคยาสูบ รวมทั้งมีมาตรการเพื่อการไม่สูบบุหรี่อื่น ๆ ติดตามมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้

2.โครงการเยี่ยมแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรโรงพยาบาลชุมชน
                เป็นโครงการที่ถือกำเนิดขึ้นเพื่อมุ่งที่การส่งเสริมขวัญและกำลังใจแก่แพทย์ที่ปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตเสี่ยงภัยและทุรกันดาร และเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่วิชาชีพแพทย์ โดยการจัดทีมแพทย์อาวุโส อาจารย์แพทย์ และรุ่นพี่ที่สมัครใจออกเยี่ยมเยียนแพทย์ชนบท เริ่มโครงการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2531 และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยในช่วง 2 ปีหลังนี้ได้ปรับขยายโครงการไปสู่การเยี่ยมเยียนทันตแพทย์ และเภสัชกรชนบทควบคู่กันไปด้วย
จากการประเมินผลการดำเนินงาน 5 ปี ของโครงการนี้ สรุปได้ว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี สมควรดำเนินการต่อไป

3. โครงการสรรหาแพทย์ชนบท กองทุนนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร
                สืบเนื่องจากการเสียชีวิตด้วยอาวุธสงครามระหว่างเดินทางกลับโรงพยาบาลของนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นแพทย์ชนบทหนุ่มที่มีความตั้งใจและเสียสละไปปฏิบัติงานอยู่ในเขตเสี่ยงภัยชายแดน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2527 มูลนิธิฯ จึงได้จัดหาทุนตั้งเป็น "กองทุนนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร" ขึ้น เพื่อเป็นการสดุดีและยกย่องเชิดชูเกียรติแก่นายแพทย์กนกศักดิ์ฯ จากนั้นก็ได้มีการจัดทำโครงการสรรหาเพื่อให้รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติแก่แพทย์ที่มีความตั้งใจ อดทนและเสียสละปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีในชนบทเขตเสี่ยงภัยและทุรกันดาร ปีละ 1-2 คน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบันมีแพทย์ที่ได้รับรางวัลจากกองทุนนี้ไปแล้ว รวม 22 คน
                โครงการนี้เป็นอีกโครงการหนึ่งที่สามารถส่งเสริมขวัญ กำลังใจ และสนับสนุนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของแพทย์ชนบทได้อย่างเป็นรูปธรรม