วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิกรรมที่ 2

ทฤษฎีการจัดในชั้นเรียน

      สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ (2533 : 18-19) ได้กล่าวถึงแนวคิดทางทฤษฎีการเรียนรู้ ที่เป็นแนวทาง ในการสร้างชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพเป็น 3 กลุ่ม คือ
     (1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เป็นกลุ่มที่ตีความพฤติกรรมมนุษย์ว่า เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (stimulus) และการตอบสนอง (responses) บางทีจึงเรียกว่า การเรียนรู้แบบ SR สิ่งเร้าก็คือ ข่าวสารหรือเนื้อหาวิชาที่ส่งไปให้ผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนโปรแกรมการเรียนการสอนอิงหลักการทฤษฎีนี้มาก โดยจะแยกลำดับขั้นของการเรียนรู้ออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ และเมื่อผู้เรียนเกิดการตอบสนอง ก็จะสามารถทราบผลได้ทันที ว่าเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้าตอบสนองถูกต้องจะมีการเสริมแรง โปรแกรมการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลอิงทฤษฎีนี้มาก
     (2) กลุ่มเกสตัลท์หรือทฤษฎีสนามหรือทฤษฎีพุทธินิยม (Gestalt, Field or Cognitive
theories) เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการความรู้ความเข้าใจหรือการรู้คิด อันได้แก่ การรับรู้อย่างมี
ความหมาย ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดกระทำ อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของ
พฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีนี้ถือว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นขึ้นกับคุณภาพของสติปัญญาและความ
สามารถในการสร้างความสัมพันธ์
(3) กลุ่มจิตวิทยาทางสังคมหรือการเรียนรู้ทางสังคม (Social psychology or Social
learning theory) เป็นกลุ่มที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นทฤษฎีนี้เน้นปัจจัยทางบุคลิกภาพ
และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางสังคม
    ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์
         กลุ่มนักจิตวิทยาประเทศเยอรมันนี เรียกว่านักจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychologist) ประกอบด้วย โคท์เลอร์ (Kohler) คอฟคา (Koffka) และแวร์ไทมเมอร์ (Wertheimer) เริ่มใน ค.ศ.1912 ได้อธิบายความสัมพันธ์ของส่วนย่อยและส่วนรวมว่า ส่วนรวมมากกว่าผลรวมของส่วนย่อยโดยมีแนวคิดหลักว่า "ส่วนรวม (The whole) มีค่ามากกว่าผลรวม (the sum)ของส่วนย่อย (parts)" การเรียนรู้ล้วนเริ่มต้นจากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมมาให้ผู้เรียนรับรู้เสียก่อน แล้วจึงแยกแยะให้เรียนรู้ในส่วนย่อย โดยอาศัยหลักการ 2 ประการ คือ
         1.1 การรับรู้ (Perception) บุคคลจะรับรู้ภาพ (Figure) เป็นสิ่งสำคัญ ส่วนพื้น( ground) เป็นเพียงส่วนประกอบ
เช่น ในการนั่งเรียนมีสิ่งเร้าหลากหลายทั้งครูผู้สอน เนื้อหาจากคอมพิวเตอร์แสดงผ่านอุปกรณ์ช่วยโปรเจ็คเตอร์ เสียงเพื่อนคุยกัน ความร้อน หรือความง่วง หากผู้เรียนให้ความสนใจเนื้อหาที่ครูนำเสนอผ่านโปรเจ็คเตอร์ เนื้อหาจะเป็นภาพ เขาจะรับรู้สิ่งต่าง ๆที่ปรากฏผ่านโปรเจ็คเตอร์อย่างชัดเจน สิ่งอื่น ๆ จะเป็นพื้น บางช่วงเวลา ผู้เรียนให้ความสำคัญกับความง่วง การสอนของครูและสิ่งต่าง ๆ ก็เพียงแต่ผ่านหูผ่านตา ไม่รับรู้รายละเอียด เรียนไม่รู้เรื่อง เป็นต้น
       1.2 การหยั่งรู้ คือการเรียนรู้หรือการแก้ปัญหาด้วยตนเองอย่างทันทีทันใด ผู้สามารถเรียนด้วยการหยั่งรู้จะเป็นผู้สามารถมองเห็นแนวทาง ในการแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและการแก้ปัญหา ดังนั้น ความสามารถในการหยั่งรู้ของบุคคลจึงขึ้นกับประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปัญหาที่เกิดขึ้น
        หลักการของกลุ่มเกสตัลท์เป็นนักจิตวิทยาพุทธิปัญญานิยมที่เน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการรู้คิดและความสำคัญของผู้เรียน โดยถือว่าการเรียนรู้เป็นผลของการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สิ่งเร้าที่สำคัญคือสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรับรู้ และการรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้ ผู้เรียนอาจจะเกิดการหยั่งรู้ในการแก้ปัญหาและแก้ปัญหาได้ทันทีโดยไม่ต้องให้แรงเสริม